วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎีของพาฟลอฟ





 








วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550


ทฤษฎีการเรียนรู้ของPavlov

2. การเรียนรู้พฤติกรรมโดยการวางเงื่อนไขสิ่งเร้า
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก(Classical Conditioning Theory) พาฟลอฟ (Pavlov, 1849-1936) พา ฟลอฟได้พบหลักการเรียนรู้ที่เรียกว่า Classical Conditioning ซึ่งอาจจะอธิบายโดยย่อได้ดังต่อไปนี้ พาฟลอฟได้ทำการทดลองโดยสั่นกระดิ่งก่อนที่จะเอาอาหาร (ผงเนื้อ) ให้แก่สุนัข เวลาระหว่างการสั่นกระดิ่งและให้ผงเนื้อแก่สุนัข จะต้องเป็นเวลาที่กระชั้นชิดมาก ประมาณ .25 ถึง .50 วินาที ทำซ้ำควบคู่กันหลายครั้ง และในที่สุดหยุดให้อาหารเพียงแต่สั่นกระดิ่ง ก็ปรากฏว่าสุนัขก็ยังคงมีน้ำลายไหลได้ ปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่า พฤติกรรมของสุนัข ถูกวางเงื่อนไข หรือที่เรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก การทดลองของพาฟลอฟอาจจะอธิบายได้โดยใช้แผนภูมิต่อไปนี้ สรุปแล้ว การตอบสนองเพื่อวางเงื่อนไข (Conditioned Response หรือ CR) เป็นผลจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก การวางเงื่อนไขเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus หรือ CS) กับการสนองตอบที่ต้องการให้เกิดขึ้น โดยการนำ CS ควบคู่กับสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus หรือ UCS) ซ้ำ ๆ กัน หลักสำคัญ ก็คือจะต้องให้ UCS หลัง CS อย่างกระชั้นชิดคือเพียงเสี้ยววินาที (.25 - .50 วินาที) และจะต้องทำซ้ำ ๆ กัน สรุปแล้วความต่อเนื่องใกล้ชิด (Contiguity) และความถี่ (Frequency) ของสิ่งเร้า เป็นสิ่งที่มีควทดลองของพาฟลอฟเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกเป็นการ ทดลองทางวิทยาศาสตร์อย่างละเอียด พาฟลอฟให้รายละเอียดเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกหลายอย่าง จนได้หลักการเกี่ยวกับการเรียนรู้หลายประการ เป็นหลักการที่นักจิตวิทยา ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบันนี้ การ เรียนรู้พฤติกรรมจาการวางเงื่อนไขการกระทำทฤษฎีการเรียนรู้วางเงื่อนไขแบบ การกระทำหรือผลกรรม (Operant Conditioning Theory)การวางเงื่อนไขการกระทำหรือผลกรรม มีแนวคิดว่าการกระทำใด ๆ (Operant ) ย่อมก่อให้เกิดผลกรรม (Consequence หรือ Effect ) สกินเนอร์ (Skinner, 1966) เป็นผู้พัฒนาขึ้นมา ซึ่งแนวความคิดนี้เชื่อว่า“พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลพวงเนื่องมาจากการปฏิ สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม พฤติกรรมที่เกิดขึ้นของบุคคลจะแปรเปลี่ยนไปเนื่องจากผลกรรม (Consequences)ผลกรรม 2 ประเภท
(1) ผลกรรมที่เป็นตัวเสริมแรง (Reinforcer)การเสริมแรง หมายถึงการทำให้มีพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากผลกรรม
(2) ผลกรรมที่เป็นตัวลงโทษ (Punshment) การลงโทษ หมายถึง การให้ผลกรรมที่อินทรีย์ไม่ต้องการหรือถอดถอนสิ่งที่อินทรีย์ต้องการหลังการ กระทำ
การเสริมแรง ( Reinforcement)
การ เสริมแรง คือการทำให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้อันเป็นผลเนื่องมาจากผลกรรมที่ตาม หลังพฤติกรรมนั้น 1. การเสริมแรงทางบวก ( Positive Reinforcement)หมายถึง สิ่งของ คำพูด หรือสภาพการณ์ที่จะช่วยให้พฤติกรรมเกิดขึ้นอีก หรือสิ่งทำให้เพิ่มความน่าจะเป็นไปได้ของการเกิดพฤติกรรม 2. การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง การเปลี่ยนสภาพการณ์หรือเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็อาจจะทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรม ได้
การเสริมแรงทางลบเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมใน 2 ลักษณะคือ
1. พฤติกรรมหลีกหนี (Escape Behavior)
2. พฤติกรรมหลีกเลี่ยง(Avoidance Beh.) จากการวิจัยเกี่ยวกับการเสริมแรงสกินเนอร์ได้แบ่งการให้แรงเสริมเป็น 2 ชนิดคือ
1 การเสริมแรงทุกครั้ง คือการให้แรงเสริมแก่บุคคลเป้าหมายที่แสดงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ทุกครั้ง
2 การเสริมแรงเป็นครั้งคราว คือไม่ต้องให้แรงเสริมทุกครั้งที่บุคคลเป้าหมายแสดงพฤติกรรม
ตารางการเสริมแรง
1. การเสริมแรงตามอัตราส่วนที่แน่นอน Fixed-Ratio (FR)
2. การเสริมแรงตามอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน Variable-Ratio (VR)
3. เสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน Fixed-Interval (FI)
4. การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน Variable-Interval (VI)
วิธีการเสริมแรง
1. การเสริมแรงแบบทุกครั้ง เช่น การเสริมแรงเกิดขึ้นทุกครั้งที่เด็ก ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
2 . การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน เช่น การเสริมแรงทุก ๆ 1 ชั่วโมงหลังจากทำพฤติกรรมไปแล้ว
3. การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน เช่น บางทีก็ให้เสริมแรง 1 ชั่วโมง บางทีก็ให้เสริมแรง 2 ชั่วโมงามสำคัญต่อการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก การทดลองของ
4. ครั้งที่แน่นอน เช่น แสดงพฤติกรรมออกกำลังกาย 3 ครั้ง ให้การเสริมแรง 1 ครั้ง
5. การเสริมแรงตามจำนวนครั้งที่ไม่แน่นอนหรือแบบสุ่ม (Random) คือ บางครั้งก็ให้การเสริมแรง บางครั้งก็ไม่ให้การเสริมแรง
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ผู้ริเริ่มทฤษฎีนี้คือพาฟลอฟ (Pavlov) นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย หลัก การเรียนรู้ของทฤษฎีพาฟลอฟ เชื่อว่าสิ่งเร้า (Stimulus) ที่เป็นกลางเกิดขึ้นพร้อมๆกับสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดกริยาสะท้อนอย่างหนึ่ง หลายๆครั้ง สิ่งเร้าที่เป็นกลางจะทำให้เกิดกริยาสะท้อนอย่างนั้นด้วย การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) กล่าวคือการตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้านั้นๆต้องมี เงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้นที่เป็นผลของการเรียนรู้ใน ลักษณะนี้จะได้ยินเสียงฟ้าผ่า ทั้งนี้เพราะในอดีตแสงฟ้าแลบมักจะคู่กับเสียงฟ้าผ่า เมื่อเดินผ่านไปในที่มืดได้ยินสียงกรอกแกรกก็สะดุ้งนึกว่าผีหลอก เพราะเคยเอาความมืดไปคิดถึงว่ามีผีอยู่ เป็นต้น ขั้นตอนการทดลองของพาฟลอฟ เขาได้ทดลองกับสุนัขโดยการสั่นกระดิ่งแล้วเอาผงเนื้อใส่ปากสุนัข ทำซ้ำๆกันหลายครั้งในลักษณะเช่นเดียวกันจนสุนัขเกิดความเคยชินกับ เสียงกระดิ่ง เมื่อได้กินผงเนื้อเป็นเวลาหลายครั้งติดต่อกันตามปกติสุนัขจะหลั่งน้ำลาย เมื่อมีผงเนื้อในปาก แต่เมื่อนำผงเนื้อมาคู่กับเสียงกระดิ่งเพียงไม่กี่ครั้ง เสียงกระดิ่งเพียงอย่างเดียวก็ทำให้สุนัขน้ำลายไหลได้แสดงว่าการเรียนรู้ได้ เกิดขึ้นในสุนัข เดิมทีสุนัขมิได้หลั่งน้ำลายเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง แต่เมื่อนำกระดิ่งไปคู่กับผงเนื้อสุนัขก็หลั่งน้ำลายเมื่อไดยินเสียงกระดิ่ง โดยที่ไม่ต้องมีผงเนื้อ ขั้นตอนการวางเงื่อนไข มีคำศัพท์ที่จะต้องทำความเข้าใจก่อนคือ UCS = สิ่งเร้าไม่มีเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus) เป็นสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดกิริยาสะท้อนหนึ่งๆอย่างอัตโนมัติ เช่น ผงเนื้อ (ทำให้น้ำลายไหล) UCR = (Unconditioned Response) เป็นการตอบสนองต่อ UCS อย่างอัตโนมัติ เช่นการหลั่ง น้ำลาย (เมื่อถูกกระตุ้นด้วยผงเนื้อ) CS = สิ่งเร้าเงื่อนไข (Conditioned Stimulus) เป็นสิ่งเร้าเป็นกลางที่นำมาคู่กับ UCS CR = การตอบสนองตามเงื่อนไข (Conditioned Response) เป็นการตอบสนองต่อ CS เนื่องจากCS เคยเกิดคู่กับ UCS มาก่อน ซึ่งจะดำตามขึ้นดังนี้ ขั้นที่ 1 เสนอ CS ซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่เป็นกลาง เช่น เสียงกระดิ่ง เพื่อสังเกตพฤติกรรมการตอบสนอง การเสนอ CS อาจไม่ทำให้เกิดการตอบสนองอะไรเลย ขั้นที่ 2 เสนอ UCS ซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดกิริยาสะท้อนผงเนื้อทำให้น้ำลายไหล การกระพริบตาเป็นการตอบสนองต่อ UCS อย่างไม่มีเงื่อนไข น้ำลายไหลจึงเป็น UCS ขั้นที่ 3 นำ CS และ UCS มาคู่กันหลาย ๆ ครั้ง โดยให้เสียงกระดิ่งพร้อมกับการให้ผงเนื้อ หรือจะให้เสียงกระดิ่งก่อนสัก หรือ 1 วินาที ก็ได้ แล้วจึงให้ผงเนื้อ ทำให้น้ำลายไหล ขั้นตอนที่ 4 เสนอ CS อย่างเดียว ทำให้เกิดกิริยาสะท้อนน้ำลายไหล พฤติกรรมน้ำลายไหลกับ CS เกิดจากการเรียนรู้จึงเป็น CR ในการนำ CS ไปคู่กับ UCS หากคู่กันยิ่งมากครั้ง โอกาสที่ CS จะทำให้เกิด CR ก็ยิ่งมาก และถ้าCS เกิดก่อน UCS เป็นเวลาประมาณ .25 ถึง .05 วินาที การเกิด CR จะรวดเร็วที่สุด แต่ถ้าหากให้ CS ตามหลัง UCS การเรียนรู้เงื่อนไขก็จะไม่เกิดขึ้นเช่นให้ผงเนื้อก่อนแล้วค่อยสั่นกระดิ่ง แม้จะกระทำกันหลาย ๆ ครั้ง เสียงกระดิ่งก็ไม่ทำให้เกิดน้ำลายไหลได้ กฎการเรียนรู้ กฎการเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นในการทดลอง พาฟลอฟได้สรุปเป็นกฎ 4 ข้อคือ 1. กฎการลบพฤติกรรม (Law of Extinction) มีความว่าความเข้มข้นของการตอบสนองจะลดน้อย ลงเรื่อย ๆ ถ้าให้ร่างกายได้รับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขอย่างเดียวหรือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับ สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขห่างกันออกไปมากขึ้น การลบพฤติกรรมมิใช่การลืม เป็นเพียงการลดลงเรื่อย ๆ 2. กฎแห่งการคืนกลับ (Law of Spontaneous recovery) มีสาระสำคัญคือ การตอบสนองที่เกิด จากการวางเงื่อนไข (CR) ที่ลดลงเพราะได้รับแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) เพียงอย่างเดียว จะกลับปรากฏ ขึ้นอีกและเพิ่มมากขึ้น ๆ ถ้าร่างกายมีการเรียนรู้อย่างแท้จริง โดยไม่ต้องมีสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS) มาเข้าช่วย 3. กฎความคล้ายคลึงกันมีเนื้อความว่า ถ้าร่างกายมีการเรียนรู้โดยแสดงอาการตอบสนอง จากการ วางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้า ที่วางเงื่อนไขหนึ่งแล้ว ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข เดิม ร่างกายจะตอบสนองเหมือนกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น 4. การจำแนก มีความว่า ถ้าร่างกายมีการเรียนรู้โดยแสดงอาการตอบสนอง จากการวางเงื่อนไข ต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม ร่างกายจะตอบสนองแตกต่างไปจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น